http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3
http://www.thai-tour.com/thai-tour/Central/samutsakorn/main.htm
http://www.samutsakhon.go.th/index_n.htm
วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 40 ตำบล 288 หมู่บ้าน
- อำเภอเมืองสมุทรสาคร
- อำเภอกระทุ่มแบน
- อำเภอบ้านแพ้ว
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แบ่งออกเป็น 2 เทศบาลนคร 1 เทศบาลเมือง 8 เทศบาลตำบล และ 26 องค์การบริหารส่วนตำบล
อำเภอเมืองสมุทรสาคร
- เทศบาลนครสมุทรสาคร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม ตำบลโกรกกรากทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางปลา
- เทศบาลตำบลนาดี
- เทศบาลตำบลท่าจีน
- เทศบาลตำบลบางหญ้าแพรก
อำเภอกระทุ่มแบน
- เทศบาลนครอ้อมน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอ้อมน้อยทั้งตำบล
- เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน
- เทศบาลตำบลสวนหลวง
อำเภอบ้านแพ้ว
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ไม่มี
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : พญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์
เทศการและงานประเพณี
กิจกรรมที่น่าสนใจ
ล่องเรือ สมุทรสาครมีกิจกรรมทางน้ำที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว คือ การล่องเรือจากศาลพันท้ายนรสิงห์ บริเวณคลองโคกขาม นั่งชมทิวทัศน์ป่าชายเลน ผ่านคลองพิทยาลงกรณ์ ถึงบ้านปากคลองประมง ชมวิถีชีวิตชาวประมงชมการเลี้ยงหอยแมลงภู่ นักท่องเที่ยวที่สนใจจะเช่าเรือสามารถเช่าเรือได้ราคา ๕๐๐–๖๐๐ บาท ใช้เวลาไป-กลับประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง ติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่คุณนรินทร์ บุญร่วม โทร. ๐ ๓๔๔๑ ๒๔๙๐, ๐ ๙๔๙๑ ๖๐๑๑
ชมสวนผลไม้ – ดอกไม้ ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้วชาวบ้านทำสวนทั้งผลไม้ สวนผัก สวนกล้วยไม้ สวนมะพร้าว ในเขตอำเภอกระทุ่มแบนมีชื่อเสียงในการทำสวนมะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ และสวนกล้วยไม้ ตามเส้นทางถนนเศรษฐกิจ (๓๐๙๑) ส่วนในเขตอำเภอบ้านแพ้ว มีสวนองุ่น สวนฝรั่ง ตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๗ นอกจากจะชมสวนแล้ว ยังมีโอกาสชมการทำน้ำตาลจากมะพร้าว การทำขนมไทย เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุนอีกด้วย
เทศกาลประเพณี
งานเทศกาลอาหารทะเล จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมของทุกปี บริเวณริมเขื่อนหน้าศาลหลักเมือง เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงด้านอาหารทะเลของจังหวัดรวมทั้งผลิตผลทางการเกษตรของชาวบ้านแพ้วทั้งผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากทะเล สินค้าหัตถกรรม
งานเกษตรบ้านแพ้ว จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคมของทุกปี เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลผลิตทางด้านการเกษตรของชาวสวนอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตผลทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัด และเป็นแหล่งผลิตแหล่งใหญ่ของประเทศ
ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมือง จัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปี บริเวณริมเขื่อนและหน้าศาลากลางจังหวัด โดยจะอัญเชิญไปประทับเกี้ยวลงเรือประมง ประดับธงทิวอย่างสวยงาม แล้วแห่ไปตามแม่น้ำท่าจีน จากตลาดมหาชัยไปฝั่งท่าฉลอมบริเวณวัดสุวรรณาราม และอัญเชิญไปจนถึงวัดช่องลม เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล
งานเทศกาลกินเจท่าฉลอม จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น ๑-๙ ค่ำ เดือน ๙ ของชาวจีนทุกปี เป็นงานกินเจที่สงบด้วยบรรยากาศแห่งพิธีกรรม การบูชาเพื่อชำระจิตใจและร่างกาย มีผู้คนในชุมชนร่วมงานอย่างมากมาย
งานประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง จัดขึ้นที่วัดคลองครุ อำเภอเมืองสมุทรสาคร ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ของชาวไทยรามัญในการบูชาพระสงฆ์ พระสงฆ์จะเก็บน้ำผึ้งไว้เพื่อใช้เป็นยาในเวลาจำเป็น ชาวไทยรามัญเชื่อว่า การถวายน้ำผึ้งแด่พระสงฆ์จะได้อานิสงฆ์มาก และจะเป็นผู้ที่อุดมไปด้วยลาภยศทั้งชาตินี้และชาติหน้า
งานนมัสการมหาโพธิสัตว์กวนอิม จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙–๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี บริเวณวัดช่องลม เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มาสักการะพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม
ข้อมูลท่องเที่ยว อ.กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
วัดนางสาว ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าไม้ เดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๓๕ (ธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๑ ประมาณ ๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวเข้าซอยวัดนางสาว ๒ ประมาณ ๑ กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของวัดมีเรื่องเล่ากันว่า เมืองสาครบุรี คือ เมืองชายทะเลตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดสงครามในพม่าชาวไทยกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีมาตามริมแม่น้ำท่าจีน คนชราและผู้หญิงได้พากันไปหลบซ่อนในโบสถ์เก่า ต่อมาคนไทยได้ช่วยกันต่อสู้กับทหารพม่าจนได้รับชัยชนะ และผู้ที่อพยพมาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น ในกลุ่มนี้มีสองพี่น้องที่เคยอาศัยโบสถ์หลบหนีภัย ทั้งสองมีความคิดที่จะบูรณะโบสถ์ใหม่ แต่พี่สาวเห็นว่าโบสถ์ทรุดโทรมมากจึงไปสร้างวัดใหม่แทน น้องสาวต้องการทำตามสัจจาธิษฐานของตนว่าถ้ารอดตายจะบูรณะซ่อมแซมโบสถ์ จึงดำเนินการบูรณะจนเสร็จและตั้งชื่อว่า “วัดพรหมจารีย์” ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า”วัดน้องสาว” จนปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น “วัดนางสาว” โบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้ คือโบสถ์ที่มีฐานโค้งเป็นรูปเรือสำเภาก่ออิฐ มีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียวชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์มหาอุด” หลังคามุงกระเบื้องดินเผาแบบเก่า ขื่อข้างบนใช้ไม้ซุงทั้งต้น มีเสมาคู่เป็นหินทรายขนาดเล็กอยู่รอบ ๆ โบสถ์ นอกจากนี้บริเวณหน้าวัดซึ่งติดกับแม่น้ำท่าจีน ยังมีอุทยานมัจฉาประกอบด้วยฝูงปลาสวายจำนวนมากอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารแก่ฝูงปลาและเที่ยวชมอยู่เสมอ
ปล่องเหลี่ยม ตั้งอยู่ตำบลท่าไม้ ริมแม่น้ำท่าจีน เดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๑ (ถนนเศรษฐกิจ ๑ แยกอ้อมน้อย-สมุทรสาคร) ไปจังหวัดนครปฐมผ่านคลองภาษีเจริญระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร ปล่องเหลี่ยมเป็นปล่องเตาไฟโรงงานผลิตน้ำตาลทรายของชาวโปรตุเกส ชื่อกัปตันฮิท สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ลักษณะของปล่องเป็นปล่องก่ออิฐถือปูนบนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๔ เมตร สูง ๔ เมตร ต่อจากฐานขึ้นไปเป็นปล่องทรงแปดเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้างประมาณ ๑ เมตร แล้วค่อย ๆ เรียวขึ้นไปจนถึงปลายสูงประมาณ ๓๐ เมตร
ปล่องเหลี่ยม ตั้งอยู่ตำบลท่าไม้ ริมแม่น้ำท่าจีน เดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๑ (ถนนเศรษฐกิจ ๑ แยกอ้อมน้อย-สมุทรสาคร) ไปจังหวัดนครปฐมผ่านคลองภาษีเจริญระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร ปล่องเหลี่ยมเป็นปล่องเตาไฟโรงงานผลิตน้ำตาลทรายของชาวโปรตุเกส ชื่อกัปตันฮิท สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ลักษณะของปล่องเป็นปล่องก่ออิฐถือปูนบนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๔ เมตร สูง ๔ เมตร ต่อจากฐานขึ้นไปเป็นปล่องทรงแปดเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้างประมาณ ๑ เมตร แล้วค่อย ๆ เรียวขึ้นไปจนถึงปลายสูงประมาณ ๓๐ เมตร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)