วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

OTOP สมุทรสาคร





ระดับ 5 ดาว





















หน่วยการปกครอง

ารปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 40 ตำบล 288 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองสมุทรสาคร
  2. อำเภอกระทุ่มแบน
  3. อำเภอบ้านแพ้ว

การปกครองส่วนท้องถิ่น

อำเภอเมืองสมุทรสาคร

อำเภอกระทุ่มแบน

อำเภอบ้านแพ้ว

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด


  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ไม่มี
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : พญาสัตบรรณ (Alstonia scholaris)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์

เทศการและงานประเพณี


กิจกรรมที่น่าสนใจ
   ล่องเรือ สมุทรสาครมีกิจกรรมทางน้ำที่น่าสนใจสำหรับนักท่องเที่ยว คือ การล่องเรือจากศาลพันท้ายนรสิงห์ บริเวณคลองโคกขาม นั่งชมทิวทัศน์ป่าชายเลน ผ่านคลองพิทยาลงกรณ์ ถึงบ้านปากคลองประมง ชมวิถีชีวิตชาวประมงชมการเลี้ยงหอยแมลงภู่ นักท่องเที่ยวที่สนใจจะเช่าเรือสามารถเช่าเรือได้ราคา ๕๐๐–๖๐๐ บาท ใช้เวลาไป-กลับประมาณ ๑-๒ ชั่วโมง ติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่คุณนรินทร์ บุญร่วม โทร. ๐ ๓๔๔๑ ๒๔๙๐, ๐ ๙๔๙๑ ๖๐๑๑
   ชมสวนผลไม้ – ดอกไม้ ในเขตอำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้วชาวบ้านทำสวนทั้งผลไม้ สวนผัก สวนกล้วยไม้ สวนมะพร้าว ในเขตอำเภอกระทุ่มแบนมีชื่อเสียงในการทำสวนมะพร้าวน้ำหอม ส้มโอ และสวนกล้วยไม้ ตามเส้นทางถนนเศรษฐกิจ (๓๐๙๑) ส่วนในเขตอำเภอบ้านแพ้ว มีสวนองุ่น สวนฝรั่ง ตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๗ นอกจากจะชมสวนแล้ว ยังมีโอกาสชมการทำน้ำตาลจากมะพร้าว การทำขนมไทย เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง เม็ดขนุนอีกด้วย

เทศกาลประเพณี
   งานเทศกาลอาหารทะเล จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมของทุกปี บริเวณริมเขื่อนหน้าศาลหลักเมือง เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงด้านอาหารทะเลของจังหวัดรวมทั้งผลิตผลทางการเกษตรของชาวบ้านแพ้วทั้งผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากทะเล สินค้าหัตถกรรม
   งานเกษตรบ้านแพ้ว จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนมีนาคมของทุกปี เพื่อเป็นการเผยแพร่ผลผลิตทางด้านการเกษตรของชาวสวนอำเภอบ้านแพ้ว ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตผลทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงที่สุดของจังหวัด และเป็นแหล่งผลิตแหล่งใหญ่ของประเทศ
   ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมือง จัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปี บริเวณริมเขื่อนและหน้าศาลากลางจังหวัด โดยจะอัญเชิญไปประทับเกี้ยวลงเรือประมง ประดับธงทิวอย่างสวยงาม แล้วแห่ไปตามแม่น้ำท่าจีน จากตลาดมหาชัยไปฝั่งท่าฉลอมบริเวณวัดสุวรรณาราม และอัญเชิญไปจนถึงวัดช่องลม เพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล
   งานเทศกาลกินเจท่าฉลอม จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น ๑-๙ ค่ำ เดือน ๙ ของชาวจีนทุกปี เป็นงานกินเจที่สงบด้วยบรรยากาศแห่งพิธีกรรม การบูชาเพื่อชำระจิตใจและร่างกาย มีผู้คนในชุมชนร่วมงานอย่างมากมาย
   งานประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง จัดขึ้นที่วัดคลองครุ อำเภอเมืองสมุทรสาคร ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ของชาวไทยรามัญในการบูชาพระสงฆ์ พระสงฆ์จะเก็บน้ำผึ้งไว้เพื่อใช้เป็นยาในเวลาจำเป็น ชาวไทยรามัญเชื่อว่า การถวายน้ำผึ้งแด่พระสงฆ์จะได้อานิสงฆ์มาก และจะเป็นผู้ที่อุดมไปด้วยลาภยศทั้งชาตินี้และชาติหน้า
   งานนมัสการมหาโพธิสัตว์กวนอิม จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๙–๒๓ พฤศจิกายน ของทุกปี บริเวณวัดช่องลม เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มาสักการะพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม

ข้อมูลท่องเที่ยว อ.กระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

วัดนางสาว ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าไม้ เดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๓๕ (ธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๑ ประมาณ ๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวเข้าซอยวัดนางสาว ๒ ประมาณ ๑ กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของวัดมีเรื่องเล่ากันว่า เมืองสาครบุรี คือ เมืองชายทะเลตอนใต้ของกรุงศรีอยุธยา เมื่อเกิดสงครามในพม่าชาวไทยกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีมาตามริมแม่น้ำท่าจีน คนชราและผู้หญิงได้พากันไปหลบซ่อนในโบสถ์เก่า ต่อมาคนไทยได้ช่วยกันต่อสู้กับทหารพม่าจนได้รับชัยชนะ และผู้ที่อพยพมาได้ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนั้น ในกลุ่มนี้มีสองพี่น้องที่เคยอาศัยโบสถ์หลบหนีภัย ทั้งสองมีความคิดที่จะบูรณะโบสถ์ใหม่ แต่พี่สาวเห็นว่าโบสถ์ทรุดโทรมมากจึงไปสร้างวัดใหม่แทน น้องสาวต้องการทำตามสัจจาธิษฐานของตนว่าถ้ารอดตายจะบูรณะซ่อมแซมโบสถ์ จึงดำเนินการบูรณะจนเสร็จและตั้งชื่อว่า “วัดพรหมจารีย์” ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า”วัดน้องสาว” จนปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น “วัดนางสาว” โบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้ คือโบสถ์ที่มีฐานโค้งเป็นรูปเรือสำเภาก่ออิฐ มีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียวชาวบ้านเรียกว่า “โบสถ์มหาอุด” หลังคามุงกระเบื้องดินเผาแบบเก่า ขื่อข้างบนใช้ไม้ซุงทั้งต้น มีเสมาคู่เป็นหินทรายขนาดเล็กอยู่รอบ ๆ โบสถ์    นอกจากนี้บริเวณหน้าวัดซึ่งติดกับแม่น้ำท่าจีน ยังมีอุทยานมัจฉาประกอบด้วยฝูงปลาสวายจำนวนมากอาศัยอยู่ นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารแก่ฝูงปลาและเที่ยวชมอยู่เสมอ
   ปล่องเหลี่ยม ตั้งอยู่ตำบลท่าไม้ ริมแม่น้ำท่าจีน เดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๑ (ถนนเศรษฐกิจ ๑ แยกอ้อมน้อย-สมุทรสาคร) ไปจังหวัดนครปฐมผ่านคลองภาษีเจริญระยะทางประมาณ ๗ กิโลเมตร ปล่องเหลี่ยมเป็นปล่องเตาไฟโรงงานผลิตน้ำตาลทรายของชาวโปรตุเกส ชื่อกัปตันฮิท สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ลักษณะของปล่องเป็นปล่องก่ออิฐถือปูนบนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๔ เมตร สูง ๔ เมตร ต่อจากฐานขึ้นไปเป็นปล่องทรงแปดเหลี่ยมแต่ละเหลี่ยมกว้างประมาณ ๑ เมตร แล้วค่อย ๆ เรียวขึ้นไปจนถึงปลายสูงประมาณ ๓๐ เมตร

ข้อมูลท่องเที่ยว อ.เมือง จังหวัดสมุทรสาคร

วัดใหญ่จอมปราสาท ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าจีน ห่างจากตัวจังหวัด ๔ กิโลเมตร สามารถเดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๓๕ (ถนนธนบุรี-ปากท่อ) บริเวณกิโลเมตรที่ ๓๑ เชิงสะพานท่าจีน เป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ ๔๐๐ ปี สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดใหญ่สาครบุรี” รวมทั้งได้พระราชทานพระไตรปิฎก และยกฐานะเป็นพระอารามหลวง ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระวิหารเก่าแก่ก่ออิฐถือปูนฐานแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภา ที่ซุ้มประตูและหน้าต่างมีการประดับลวดลายปูนปั้น นอกจากนี้ยังมีงานแกะสลักไม้ที่บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นลายพันธุ์พฤกษา ต้นไม้ ภูเขา รูปสัตว์ และบุคคล เป็นศิลปะแบบจีน ซึ่งเป็นลวดลายแกะสลักลึกเข้าไปในเนื้อไม้ที่งดงามมาก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙
   วัดสุทธิวาตวราราม หรือ วัดช่องลม ตั้งอยู่ตรงปากอ่าวสมุทรสาคร ตำบลท่าฉลอม ตรงข้ามกับตัวเมือง เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข ๓๕ เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ ๓๕ เข้าถนนสุทธิวาตวิถีประมาณ ๓ กิโลเมตร วัดช่องลมเป็นพระอารามหลวงได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ด้านหน้าวัดมีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินท่าฉลอม และทรงตั้งเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่ชาวสมุทรสาครสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ฉลองสิริราชสมบัติครบรอบ ๕๐ ปี
   ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งอยู่ตำบลโคกขาม ห่างจากวัดโคกขามประมาณ ๑ กิโลเมตรขึ้นอยู่กับสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐ ในเนื้อที่กว่า ๑๘ ไร่ ภายในอาคารจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์และอวกาศ ในหัวข้อโลกและระบบสุริยะ การสำรวจดวงจันทร์ ชีวิตของดาวฤกษ์ มีเครื่องฉายดาวภายในโดมขนาดเล็ก ประกอบการบรรยาย Mini Theater และมีชุดนิทรรศการเรื่อง “มนุษย์กับการวัดและการนับ” เล่าถึงประวัติของการพัฒนาการวัดมาอย่างยาวนาน ภายนอกอาคารจัดเป็นสวนวิทยาศาสตร์ เช่น สวนธรณีวิทยา สวนสุขภาพ สวนสนุกของเครื่องเล่นเชิงฟิสิกส์ และยังมีฐานเกษตรธรรมชาติและสวนสมุนไพร ซึ่งการจัดกิจกรรม ผสมกลมกลืนกับสภาพภูมิทัศน์เดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา ๐๘.๓๐–๑๖.๓๐ น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐ ๓๔๔๒ ๑๐๑๔
   วัดโคกขาม ตั้งอยู่ริมคลองโคกขาม เดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๓๕ เลี้ยวซ้ายเข้าทางวัดพันท้ายนรสิงห์ประมาณ ๓ กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือพระอุโบสถหลังเก่ามีใบเสมารอบ ๆ ด้านหน้ามีพระเจดีย์ที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซม เป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ลวดลายการแกะสลักไม้ที่หน้าบันนั้นงดงาม นอกจากนั้นยังมีศาลพันท้ายนรสิงห์ซึ่งเป็นศาลเพียงตาเดิม และเป็นที่เก็บโบราณวัตถุที่เล่ากันว่าเกี่ยวพันกับเรื่องของพันท้ายนรสิงห์ เช่น ชิ้นส่วนของเรือพระที่นั่งเอกชัย และบุษบก เป็นต้น
   ศาลพันท้ายนรสิงห์ ตั้งอยู่ตำบลโคกขาม เดินทางจากถนนเอกชัย เข้าทางหลวงหมายเลข ๓๔๒๓ (วัดสหกรณ์-ศาลพันท้ายนรสิงห์) ระยะทางประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ศาลนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พันท้ายนรสิงห์ ในคราวที่คัดท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยจนหัวเรือชนกิ่งไม้ใหญ่ริมคลองโคกขาม ทำให้โขนเรือหักตกลงในน้ำ พันท้ายนรสิงห์กราบบังคมทูลพระเจ้าเสือให้ประหารชีวิตตามกฎมณเฑียรบาล พระเจ้าเสือทรงจำฝืนพระทัยตามพระราชกำหนดที่วางไว้จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ แล้วให้ทำศาลขึ้นสูงเพียงตา และนำศีรษะพันท้ายนรสิงห์กับหัวเรือพระที่นั่งเอกชัยที่หักขึ้นพลีกรรมไว้บนศาล เพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงถึงความซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อมากรมศิลปากรได้จัดสร้างศาลขึ้นใหม่แทนหลังเก่าที่พังลงมา ภายในศาลมีรูปปั้นของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าคนจริงอยู่ในท่าถือท้ายคัดเรือ เป็นที่นับถือของชาวบ้านเป็นอย่างมาก
   คลองโคกขาม เป็นคลองที่มีความคดเคี้ยวมาก ลักษณะเป็นโค้งข้อศอก กระแสน้ำเชี่ยวมากยากต่อการเดินเรือ ทำให้ครั้งที่พระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชรที่ ๘ (พ.ศ. ๒๒๔๖-๒๒๕๒) เสด็จประพาสต้นไปตามลำคลองโคกขามด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย ได้เกิดอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งชนกิ่งไม้หัก ทำให้พันท้ายนรสิงห์ ถูกประหารชีวิต บริเวณที่ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ พระเจ้าเสือทรงโปรดให้ขุดคลองลัดตัดทางคดเคี้ยวของคลองโคกขามให้ตรง โดยให้เจ้าพระยาราชสงครามเป็นแม่กองคุมไพร่พลจำนวน ๓,๐๐๐ คน ขุดคลองตัดจากคลองโคกขามตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๔๘ ตรงมาเชื่อมกับแม่น้ำท่าจีน ขนาดคลองกว้าง ๕ วา ลึก ๖ ศอก เสร็จในปี พ.ศ.๒๒๕๒ ในสมัยของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เมื่อขุดเสร็จจึงได้พระราชทานนามว่า “คลองสนามไชย “ ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ คลองมหาชัย” แต่บางทีชาวบ้านก็เรียกว่า “คลองถ่าน” และที่ปากคลองมหาชัยติดกับคลองโคกขามจะมีศาลพันท้ายนรสิงห์อีกศาลหนึ่ง
   ป้อมวิเชียรโชฎก ตั้งอยู่ตำบลมหาชัย ห่างจากศาลากลางจังหวัด ๒๐๐ เมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๑ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากในสมัยนั้นได้เกิดกรณีพิพาทกับญวณเรื่องเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ รัชกาลที่ ๓ ทรงเกรงว่าญวณจะยกกำลังมารุกรานไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ทองจีน) เป็นแม่กองสร้างป้อมเพื่อรักษาปากน้ำท่าจีนที่เมืองสมุทรสาคร และพระราชทานนามว่า “ป้อมวิเชียรโชฎก” ลักษณะของป้อมก่อด้วยอิฐถือปูน ไม่มีป้อมยามมีแต่หอรบ ตามช่องของกำแพงมีปืนใหญ่ไว้สำหรับป้องกันข้าศึกที่มาทางปากน้ำ
   ศาลหลักเมือง ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับป้อมวิเชียรโชฎก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประชาชนเคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวประมงในจังหวัด โดยก่อนออกเรือเพื่อไปหาปลาทุกครั้งชาวประมงจะต้องไปทำพิธีสักการะบูชา และจุดประทัดบริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อเป็นสิริมงคล
   ตลาดมหาชัย (ท่าเรือเทศบาล) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ใกล้กับป้อมวิเชียรโชฎกและศาลหลักเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๒๐๐ เมตร นับเป็นศูนย์กลางการค้าการคมนาคมของสมุทรสาคร ตลาดมหาชัยมีท่าเรือที่มีเรือเมล์ไปสู่ตำบลต่าง ๆ หลายแห่ง แล้วยังสามารถเช่าเรือหางยาวไปเที่ยวคลองโคกขามได้ มีทั้งเช่าเหมาลำและเรือประจำทาง
สะพานปลา เป็นสะพานปลาที่ใหญ่ และทันสมัยแห่งหนึ่งรองจากกรุงเทพฯ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ทันสมัยที่ใช้ในการลำเลียงขนถ่ายผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลทุกอย่างเป็นจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางการค้าส่งปลาทะเล
   วัดป่าชัยรังสี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลบ้านเกาะ จากมหาชัยเดินทางไปตามถนนเศรษฐกิจ (ทางหลวงหมายเลข ๓๐๙๑) ประมาณ ๕ กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ ๑๖ (ตรงข้ามสถานีไฟฟ้าย่อย) เข้าไปประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาประมาณ ๒๐๐ เมตร วัดป่าชัยรังสีสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สิ่งที่น่าสนใจคือ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคล้ายกับปราสาทหินทางภาคอีสาน
   วัดบางปลา ตั้งอยู่ตำบลบ้านเกาะ ริมแม่น้ำท่าจีนเดินทางจากมหาชัยไปตามถนนสายเศรษฐกิจประมาณ ๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางเดียวกับวัดป่าชัยรังสีประมาณ ๔ กิโลเมตร วัดบางปลาเป็นวัดที่สำคัญของคนมอญในจังหวัดสมุทรสาคร ตามธรรมเนียมมอญจะต้องมีวัด ๆ หนึ่งที่เป็นหลักของชุมชน เมื่อมีเทศกาลสำคัญ เช่น วันปวารณาออกพรรษา พระสงฆ์จากวัดอื่น ๆ ในเมืองจะต้องมาร่วมกันทำพิธี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมายังวัดบางปลา เมื่อครั้งหลวงปู่เฒ่าเก้ายอดเป็นเจ้าอาวาส นอกจากนี้กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ยังทรงสร้างซุ้มศาลายาว เชิงชายแกะสลักอย่างงดงามไว้ตรงทางเดินของวัดไว้อีกด้วย
   พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย ตั้งอยู่ตำบลบางหญ้าแพรก บริเวณปากแม่น้ำท่าจีนฝั่งขวา เดินทางไปตามถนนสุทธิวาตวิถี ประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไป ๖ กิโลเมตร พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัยอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าอ่าวมหาชัยฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ ๓,๘๗๒ ไร่ เหมาะสำหรับเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า และวิจัยด้านธรรมชาติวิทยาของระบบนิเวศป่าชายเลนและปากแม่น้ำท่าจีน และบริเวณที่ทำการศูนย์มีที่สำหรับกางเต็นท์พักแรม สำหรับผู้ที่สนใจจะร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลนได้ด้วย
   นากุ้งนาเกลือ จังหวัดสมุทรสาครมีชายฝั่งที่เหมาะกับการทำนาเกลือนากุ้งหลายแห่งโดยเฉพาะที่ตำบลกาหลง ตำบลนาโคก ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางโทรัด ตำบลโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ และบริเวณสองข้างทางสายธนบุรี-ปากท่อต่อเขตจังหวัดสมุทรสงคราม มีนาเกลือและเกลือวางขายเรียงราย มีนกหลายชนิดบินผ่านไปมา มีกังหันวิดน้ำเข้านาเกลือหมุนแล่นลม เป็นทัศนียภาพที่สวยงาม

วัฒนธรรมประเพณี


งานนมัสการมหาโพธิสัตว์กวนอิม
จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19–23 พฤศจิกายน ของทุกปี บริเวณวัดช่องลม เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มาสักการะพระมหาโพธิสัตว์กวนอิม

งานประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง 
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จัดขึ้นที่วัดคลองครุ อำเภอเมืองสมุทรสาคร เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของชาวไทยรามัญในการบูชาพระสงฆ์ พระสงฆ์จะเก็บน้ำผึ้งไว้เพื่อใช้เป็นยาในเวลาจำเป็น ชาวไทยรามัญเชื่อว่าการถวายน้ำผึ้งแด่พระสงฆ์จะได้อานิสงฆ์มาก และจะเป็นผู้ที่อุดมไปด้วยลาภยศทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ประเพณีแห่เจ้าพ่อหลักเมือง 
จัดขึ้นในเดือนมิถุนายนของทุกปี บริเวณริมเขื่อนและหน้าศาลากลางจังหวัดโดยจะอัญเชิญไปประทับเกี้ยวลงเรือประมง ประดับธงทิวอย่างสวยงาม แล้วแห่ไปตามแม่น้ำท่าจีนจากตลาดมหาชัยไปฝั่งท่าฉลอมบริเวณวัดสุวรรณาราม และอัญเชิญไปจนถึงวัดช่องลม เพื่อให้ประชาชนสักการบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล
งานเกษตรบ้านแพ้ว 
จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมของทุกปี บริเวณริมเขื่อนหน้าศาลหลักเมือง เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงด้านอาหารทะเลของจังหวัดรวมทั้งผลิตผลทางการเกษตรของชาวบ้านแพ้วทั้งผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากทะเล สินค้าหัตถกรรม

งานเทศกาลอาหารทะเล
จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมของทุกปี บริเวณริมเขื่อนหน้าศาลหลักเมือง เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงด้านอาหารทะเลของจังหวัด มีการออกร้านของร้านอาหารมากมาย รวมทั้งผลิตผลทางการเกษตรของชาวบ้านแพ้วทั้งผลไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร มีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากทะเล สินค้าหัตถกรรม

สถานที่ท่องเที่ยว

วัดนางสาว อำเภอกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าไม้ เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3091 ประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวเข้าซอยวัดนางสาว 2 ประมาณ 1 กิโลเมตร
พื้นที่ศึกษาธรรมชาติป่าชายเลนอ่าวมหาชัย อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ตำบลบางหญ้าแพรก บริเวณปากแม่น้ำท่าจีนฝั่งขวา เดินทางไปตามถนนสุทธิวาตวิถี ประมาณ 2.5 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไป 6 กิโลเมตร
นากุ้งนาเกลือ อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
จังหวัดสมุทรสาครมีชายฝั่งที่เหมาะกับการทำนาเกลือนากุ้งหลายแห่งโดยเฉพาะที่ตำบลกาหลง ตำบลนาโคก ตำบลบ้านบ่อ ตำบลบางโทรัด ตำบลโคกขาม
ศาลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ตำบลโคกขาม เดินทางจากถนนเอกชัย เข้าทางหลวงหมายเลข 3423 (วัดสหกรณ์ – ศาลพันท้ายนรสิงห์) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร
ศาลหลักเมือง อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับป้อมวิเชียรโชฎก เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประชาชนเคารพนับถือ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวประมงในจังหวัด
วัดป่าชัยรังสี อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลบ้านเกาะ จากมหาชัยเดินทางไปตามถนนเศรษฐกิจ (ทางหลวงหมายเลข 3091) ประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 16 

วัดบางปลา อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 

ตั้งอยู่ตำบลบ้านเกาะ ริมแม่น้ำท่าจีนเดินทางจากมหาชัยไปตามถนนสายเศรษฐกิจประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางเดียวกับวัดป่าชัยรังสีประมาณ 4 กิโลเมตร
วัดใหญ่จอมปราสาท อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าจีน ห่างจากตัวจังหวัด 4 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนธนบุรี-ปากท่อ) บริเวณกิโลเมตรที่ 31 เชิงสะพานท่าจีน เป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ 400 ปี
วัดโคกขาม อำเภอ จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ริมคลองโคกขาม เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 35 เลี้ยวซ้ายเข้าทางวัดพันท้ายนรสิงห์ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่ สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือ
ปล่องเหลี่ยม อำเภอกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ที่ หมู่ 10 ตำบลท่าไม้ ริมแม่น้ำท่าจีน ใกล้สนามบาสในโรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม "ปล่องเหลี่ยม" เป็นปล่องเตาไฟโรงงานผลิตน้ำตาลทรายของชาวโปรตุเกส
ป้อมวิเชียรโชฎก อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ตำบลมหาชัย ห่างจากศาลากลางจังหวัด 200 เมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2371 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่
ตลาดมหาชัย (ท่าเรือเทศบาล) อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ใกล้กับป้อมวิเชียรโชฎกและศาลหลักเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 200 เมตร
คลองโคกขาม อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
เป็นคลองที่มีความคดเคี้ยวมาก ลักษณะเป็นโค้งข้อศอก กระแสน้ำเชี่ยวมากยากต่อการเดินเรือ ทำให้ครั้งที่พระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชรที่ 8 (พ.ศ. 2246-2252) เสด็จประพาสต้นไปตามลำคลองโคกขามด้วยเรือพระที่นั่งเอกชัย
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ตำบลโคกขาม ห่างจากวัดโคกขามประมาณ 1 กิโลเมตรขึ้นอยู่กับสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2540 ในเนื้อที่กว่า 18 ไร่
สะพานปลา อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
เป็นสะพานปลาที่ใหญ่ และทันสมัยแห่งหนึ่งรองจากกรุงเทพฯ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสาคร มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ทันสมัยที่ใช้ในการลำเลียงขนถ่ายผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำทางทะเลทุกอย่างเป็นจำนวนมาก เป็นศูนย์กลางการค้าส่งปลาทะเล
วัดสุทธิวาตวราราม หรือ วัดช่องลม อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
ตั้งอยู่ตรงปากอ่าวสมุทรสาคร ตำบลท่าฉลอม ตรงข้ามกับตัวเมือง เดินทางโดยทางหลวงหมายเลข 35 เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 เข้าถนนสุทธิวาตวิถีประมาณ 3 กิโลเมตร
วัดโกรกกราก อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร 
วัดนี้มีสิ่งที่แปลกและน่าสนใจคือ หลวงพ่อปู่วัดโกรกกราก พระเนื้อศิลาแลง อายุมากกว่า 100 ปี พระประธานของวัดจะสวมแว่นตาดำไว้ตลอด 

แผนที่จังหวัดสมุทรสาคร





จังหวัดสมุทรสาคร







ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสมุทรสาคร

สมุทรสาคร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “มหาชัย” เป็นจังหวัดเล็กๆ ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำท่าจีน ห่างจากทะเลเพียง ๒ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓๖ กิโลเมตร เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีบันทึกไว้ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เมื่อคราวพระเจ้าเสือเสด็จประพาสทางชลมารคกำเนิดเป็นเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ผู้จงรักภักดี
   จังหวัดนี้เดิมเรียกว่า ”ท่าจีน” เพราะแต่เดิมเป็นตำบลใหญ่อยู่ติดอ่าวไทย มีชาวต่างประเทศโดยเฉพาะชาวจีนนำสำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายกันมาก จึงเรียกติดปากกลายเป็นตำบล ”ท่าจีน” ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๐๙๑ ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นอีกหลายเมือง ด้วยมีพระราชประสงค์จะใช้เป็นที่ระดมพลสำหรับสู้รบกับพม่า บ้านท่าจีนจึงยกฐานะเป็นเมือง “สาครบุรี” เพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านป้องกันศัตรูที่จะมารุกรานทางทะเล ตั้งแต่นั้นมาจนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อเมืองสาครบุรีเป็นเมืองสมุทรสาคร
ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองมีการจัดระบบราชการส่วนภูมิภาคเป็นมณฑลเทศาภิบาล และประกาศจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่ตำบลท่าฉลอมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๙
   ต่อมาพ.ศ.๒๔๕๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการให้ทางราชการเปลี่ยนคำว่า “เมือง” เป็น “จังหวัด” ทั่วทุกแห่ง เมืองสมุทรสาครจึงได้เปลี่ยนเป็น “จังหวัดสมุทรสาคร” มาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า “มหาชัย” ที่คนชอบเรียกกันนั้นเป็นชื่อของคลองที่ขุดขึ้นที่ตัดความคดเคี้ยวของคลองโคกขามอันเป็นสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ของพันท้ายนรสิงห์
จังหวัดสมุทรสาครมีเนื้อที่ประมาณ ๘๗๒ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น ๓ อำเภอ คืออำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน และอำเภอบ้านแพ้ว
อาณาเขต 
ทิศเหนือ ติดกับกรุงเทพฯ และจังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม และอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับกรุงเทพฯ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรปราการ
การเดินทาง
   รถยนต์ การเดินทางจากกรุงเทพฯ สามารถไปได้หลายเส้นทาง ดังนี้
๑. จากแยกบางปะแก้ว ไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๕ ถนนธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านที่ทำการเขตบางขุนเทียน ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย ถึงสี่แยกมหาชัย ประมาณกิโลเมตรที่ ๒๘ เลี้ยวซ้ายเข้าตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง ๒๙ กิโลเมตร
๒. จากศูนย์การค้าดาวคะนองไปตามถนนเอกชัย ผ่านสะพานบางขุนเทียน วัดสิงห์ แยกบางบอน โรงเรียนศึกษานารี วัดโพธิ์แจ้ ตำบลคอกกระบือ ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย เคหะชุมชนมหาชัยเข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร
๓. จากสี่แยกท่าพระไปตามทางหลวงหมายเลข ๔ ถนนเพชรเกษมถึงหนองแขมเลี้ยวซ้ายเข้าซอยเพชรเกษม ๘๑ ถึงแยกถนนเอกชัยเลี้ยวขวาไปตามถนนเอกชัยผ่านโรงเรียนศึกษานารี ด่านชั่งน้ำหนักเอกชัย เข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสาคร ระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เส้นทางถนนเพชรเกษม เลยบางแคแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนวงแหวนรอบนอกจะไปตัดกับถนนเอกชัย วกรถกลับเข้าถนนเอกชัย หรือตรงไปเข้าถนนธนบุรี-ปากท่อก็ได้ หรือจากถนนเพชรเกษมผ่านอ้อมน้อย แยกเข้าถนนเศรษฐกิจ ๑ บริเวณกิโลเมตรที่ ๒๕ ผ่านอำเภอกระทุ่มแบนได้อีกเส้นทางหนึ่ง
๔. จากสะพานพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนบรมราชชนนี ตัดเข้าถนนเพชรเกษมได้ ๓ ทาง คือ ถนนพุทธมณฑลสาย ๒ พุทธมณฑลสาย ๔ และพุทธมณฑลสาย ๕ จากนั้นเลือกเข้าตัวเมืองสมุทรสาครได้ ๒ ทาง คือ จากพุทธมณฑลสาย ๒ ออกถนนเอกชัย เลี้ยวขวาผ่านโรงเรียนศึกษานารี ระยะทางประมาณ ๓๕ กิโลเมตร หรือใช้พุทธมณฑลสาย ๔ และพุทธมณฑลสาย ๕ เข้าถนนเศรษฐกิจ ๑ ที่แยกอ้อมน้อย ผ่านอำเภอกระทุ่มแบนระยะทางประมาณ ๕๐ กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถนนวงแหวนรอบนอก ซึ่งตัดผ่านถนนเอกชัยและถนนธนบุรี-ปากท่อได้อีกด้วย
   รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถโดยสารประจำทางไปจังหวัดสมุทรสาครทุกวันตั้งแต่เวลา ๐๔.๓๐-๒๑.๓๐ น. สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี โทร. ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ (รถธรรมดา) โทร.๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙-๒๐๐ (รถปรับอากาศ) หรือ www.transport.co.th
   รถไฟ การรถไฟมีบริการรถไฟออกจากสถานีวงเวียนใหญ่ทุกวันๆ ละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา ๐๕.๓๐-๒๐.๑๐ น. ไปสุดปลายทางสถานีรถไฟมหาชัย หรือข้ามเรือไปฝั่งสถานีรถไฟบ้านแหลมก็จะสามารถนั่งรถไฟต่อไปถึงสถานีรถไฟแม่กลองจังหวัดสมุทรสงคราม สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ โทร. ๐ ๒๔๖๕ ๒๐๑๗, ๐ ๒๘๙๐ ๖๒๖๐ และสถานีรถไฟมหาชัย โทร. ๐ ๓๔๔๑ ๑๐๐๓ หรือ www.railway.co.th

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ 
สำนักงานจังหวัดสมุทรสาคร ๐ ๓๔๔๑ ๑๒๕๑, ๐ ๓๔๔๑ ๑๐๑๒
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ๐ ๓๔๔๑ ๑๐๐๒, ๐ ๓๔๔๒ ๙๒๗๑-๔, ๐ ๓๔๔๑ ๑๒๕๓
โรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร ๐ ๓๔๔๒ ๗๐๙๙
สถานีเดินรถจังหวัดสมุทรสาคร ๐ ๓๔๔๑ ๑๐๔๖
ตำรวจทางหลวง ๑๑๙๓
ตำรวจท่องเที่ยว ๑๑๕๕

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานภาคกลาง เขต ๑ (กาญจนบุรี)
ถนนแสงชูโต ตำบลบ้านเหนือ
อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ๗๑๐๐๐
โทร. ๐ ๓๔๕๑ ๑๒๐๐, ๐ ๓๔๕๑ ๒๕๐๐ โทรสาร ๐ ๓๔๕๑ ๑๒๐๐
พื้นที่ความรับผิดชอบ : กาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม